1
ถึงตอนนี้ทุกคนน่าจะรู้จัก Co-working space กันแล้ว แต่หลายคนก็ยังคิดว่า Co-working space ยังเป็นที่ทำงานสำหรับ start-ups หรือ freelancer เพราะคิดว่า Co-working space คงจะไม่ใช่รูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการทำงานแบบปกติ ไม่ใช่สำหรับบริษัทธรรมดาทั่วไป
2
จนถึง ณ ปลายๆปี 2019 บริษัทใหญ่หลายแห่ง เช่น Amazon, Starbuck, Microsoft, IBM, Alibaba, Samsung Electronics และอีกกว่า 30% ของบริษัทใน Fortune500 (รวมถึงหลายบริษัทที่ไม่ได้อยู่ใน Fortune500) ต่างก็ให้พนักงานของพวกเขาไปทำงานที่ Co-working space กันแล้ว
โดยพนักงานของบริษัทที่เข้าไปทำงานใน Co-working space ก็ไม่ใช่เพียงคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเท่านั้น หลายคนมีหน้าที่รับผิดชอบงานส่วนปฏิบัติการทั่วไป เช่น ฝ่ายธุรการ ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบุคคล ฝ่ายกราฟฟิค ฯลฯ
แต่สิ่งที่พวกเขาจะมีคือความเป็นเจ้าของงาน รูปแบบการทำงานที่ยึดเอาผลลัพทธ์ของงานเป็นหลัก มีความเป็นผู้ประกอบการในการทำงานโดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประกอบการก็ได้
3
เพราะหากมองในมุมมองของพนักงานแล้ว การไปทำงานที่ Co-working space คือการสร้างความสมดุลของสถานที่ทำงาน ที่มีอิสระในการตัดสินใจด้วยตัวเอง สามารถเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมอีกทั้งรูปแบบการทำงานที่ส่งเสริมต่อประสิทธิผลในการทำงาน โอกาสในการสร้างรูปแบบการทำงานที่สอดคล้องกับชีวิตส่วนตัว แต่ขณะเดียวกัน Co-working space ก็ยังคงบรรยากาศของการทำงานในระดับที่จะส่งผลดีต่อเนื้องาน แตกต่างจากการทำงานอยู่ที่บ้านหรือร้านกาแฟที่มีความสบายมากเกินไป หรือถูกรบกวนได้ง่ายจนส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ของงาน
โดยส่วนใหญ่ Co-working space ตั้งอยู่ที่ใจกลางเมือง พร้อมโต๊ะทำงานแบบใช้ร่วมกัน โต๊ะทำงานส่วนตัว ห้องทำงาน มุมทำงานที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ห้องประชุม เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องดื่มและอาหารว่าง บริเวณพักผ่อน อินเตอร์เน๊ตความเร็วสูงที่เสถียร
Co-working space จัดเตรียมสิ่งต่างๆเหล่านี้เพื่อสนับสนุนการทำงานในทุกรูปแบบ พร้อมทั้งเปิดให้เข้าใช้งานได้ 24 ชั่วโมงทุกวัน และยังสามารถเลือกเข้าทำงานในสาขาที่สะดวกตามสถาการณ์ ยังไม่รวมโอกาสที่จะได้พบปะผู้คนและสังคมใหม่ๆ ที่อยู่คนละสายงาน ซึ่งอาจจะเปิดโอกาสมุมมองต่ออาชีพการงาน หรือแม้กระทั้งชีวิตส่วนตัว
4
และหากมองจากมุมของผู้ลงทุนทำออฟฟิศของตัวเอง การจะมีออฟฟิศเป็นของตัวเองในย่านใจกลางเมือง ต้องผ่านกระบวนการมากมายตั้งแต่ เอกสารสัญญาต่างๆกับเจ้าของอาคาร การหาผู้ออกแบบและผู้รับเหมา การบริหารจัดการงานก่อสร้างให้เป็นไปตามที่วางแผน
รวมถึงรายละเอียดต่างๆ เช่น หากบริษัทคิดว่าต้องมีการทำงานดึก ก็ต้องเตรียมเรื่องระบบปรับอากาศนอกเวลาทำงานให้เรียบร้อยตั้งแต่ต้น ซึ่งรายละเอียดของแต่ละอาคารก็แตกต่างกันไป แต่สำหรับ Co-working space ไม่ว่าจะทำงานเช้าหรือเลยเวลางานเท่าไหร่ ก็ยังสามารถทำงานได้โดยไม่เป็นปัญหา
ทั้งเรื่องความคุ้มค่าของการใช้งานพื้นที่ที่บริษัทลงทุนไป เช่นห้องประชุม เพราะถึงแม้จะใช้งานห้องประชุมเพียง 2 ครั้งต่อเดือน แต่เราก็ยังต้องจ่ายค่าเช่าเท่าเดิมในทุกๆเดือน แต่สำหรับ Co-working space ค่าใช้บริการห้องประชุมคิดตามชั่วโมงที่ใช้งานจริง ใช้เท่าไหร่ก็จ่ายเท่านั้น
ออฟฟิศทั่วไปไม่มีความยืดหยุ่นในเรื่องสถานที่และที่ตั้ง แต่สำหรับ Co-working space ที่มีหลายสาขา พนักงานก็สามารถเลือกเข้าทำงานตามสาขาที่สะดวก แล้วแต่สถานการณ์ของแต่ละวันที่เกิดขึ้น
การเช่าพื้นที่ในอาคาร เช่าเป็นตารางเมตร บริษัทต้องวางแผนสำหรับจำนวนคนในปัจจุบัน หรือการเติบโตหรือการลดขนาดที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อความคุ้มค่าและเหมาะสมในการลงทุน เพราะการทำสัญญาเช่าแต่ละครั้งขั้นต่ำก็ 2-3 ปี แต่สำหรับ Co-working space บริษัทจ่ายค่าเช่าเป็นรายคน ระยะเวลาของสัญญาก็ทำได้ตั้งต่ รายวัน–รายปี ทำให้มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการเงินลงทุนมากกว่ารูปแบบปกติ
5
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีบริษัทจำนวนหนึ่งที่ได้เปลี่ยนมาสนใจและเข้าใช้งาน Co-working space บ้างแล้ว แต่ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่เมื่อเทียบกับรูปแบบการทำงานในออฟฟิศแบบที่เรามีกันอยู่
หากเมื่อถึงเวลาหนึ่ง Co-working space ได้พิสูจน์ตัวเองสำเร็จ ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ได้เห็นว่าการทำงานในรูปแบบใหม่นี้มีประโยชน์กว่า และให้ผลลัพทธ์ที่ดีกว่าเดิมทั้งในมุมของเจ้าของและพนักงาน
อีกทั้งหากการเติบโตของธุรกิจ Co-working space เป็นไปในอัตราที่ดี จนทำให้ครอบคลุมทุกรูปแบบการทำงานขององค์กรที่มีวัฒนธรรมอันแตกต่างกัน
บวกกับการพัฒนาของเทคโนโลยีการสื่อสาร และความคุ้นเคยของผู้คนในการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น พร้อมทั้งวัฒนธรรมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปจากสัดส่วนที่แปรเปลี่ยนของ Workforce generations ,
ปัจจัยต่างๆเหล่านั้นก็อาจทำให้ Co-working space สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับการทำงานของผู้คนในอนาคตได้อย่างชัดเจน